สร้างสรรค์เมืองน่าอยู่แห่งความสุข ด้วยทักษะ..จากความรู้สู่การปรับฐานใจ

สร้างสรรค์เมืองน่าอยู่แห่งความสุข ด้วยทักษะ..จากความรู้สู่การปรับฐานใจ

From CSR Practices towards Livable and Sustainable Development Goals

เพื่อให้การพัฒนาโครงการเมืองน่าอยู่อย่างมีความสุขเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สมาคมเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (The NETWORK) ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและเชื่อมเครือข่ายจึงจัดการประชุมกับภาคธุรกิจ ที่มีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานประกอบกิจการให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ให้เกิดความผาสุกและเกิดสภาพแวดล้อมที่ดีแก่ประชาชน (License to Operate towards livable city)   รวมทั้งเกิดความเจริญก้าวหน้าของประเทศโดยรวม ซึ่งการสานฝันดังกล่าวใช่ว่าจะเนรมิตขึ้นมาได้ดั่งใจในพริบตา ต้องอาศัยความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีการออกแบบกลไกการพัฒนาที่มีศักยภาพ เป็นไปตามขั้นตอนที่ถูกต้องเหมาะสม และที่เป็นหัวใจสำคัญคือ “ทักษะและความเข้าใจ”

การประชุมที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 – 29 กรกฎาคมที่ผ่านมา จึงไม่ใช่การพูดคุยธรรมดา แต่เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการที่มีกิจกรรมแฝงการเรียนรู้เป็นการทบทวนร่วมกันว่า โครงการเมืองน่าอยู่อย่างเป็นสุขนั้น จะทำงานร่วมกันบนพื้นฐานแห่งความเข้าใจ มีภาพจิตนาการเดียวกันว่าจะร่วมกันพัฒนาโครงการไปด้วยกันอย่างไร จึงจะทำให้การพัฒนาโครงการนี้ได้สร้างความสุข ความอิ่มใจ  และความฝันที่จะสร้างสิ่งที่ดีงามด้วยเจตนาที่ดีงามของผู้ลงมือปฏิบัติ

กิจกรรมที่ 1 เข้าใจ และ เข้าถึง ฐานคิด และ ฐานใจ  (Understanding Livable and Happiness City VS Sustainable Development VS Understanding yourself)

เข้าใจ “เมืองน่าอยู่แห่งความสุข”  (Livable and Happiness City) คือ ก่อนอื่นทุกคนที่เข้าร่วมประชุมต้องทำความเข้าใจกับความหมายของ “เมืองน่าอยู่แห่งความสุข” ว่าคือ “เมืองหรือชุมชนที่ผู้คนเข้าใจและเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่งดงาม ประชาชนจากทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ดูแลสิ่งแวดล้อม มีสุขภาพกายและใจแข็งแรง มีความพร้อมพัฒนาสติปัญญาในการพึ่งตนเองด้วยความขยันหมั่นเพียร และ เกิดความสามารถที่จะพึ่งตนเองในศตวรรษที่ 21 พร้อมล้มและลุกขึ้นได้ทุกครั้ง (Resilience)”  เมื่อเข้าใจความหมายถ่องแท้แล้วจึงเข้าสู่ช่วงของกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้ทั้งความสนุกเหมือนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง แล้วยังได้ เข้าถึง “แก่น” ในการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น แค่กิจกรรม “ฮูลาฮูป” ที่สร้างการเรียนรู้การทำงานเป็นทีมและฝึกความสามัคคีของสมาชิกได้นำไปสู่ความเข้าใจว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ฐานคิด “เครื่องมือการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development Practicum) คือ เป็นการเชื่อมโยงกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มตามมิติต่างๆ ทั้งธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ในระดับบุคคล ซึ่งจะทำให้มองออกถึงทิศทางใหม่ในการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน อีกทั้งเข็มทิศยังใช้ในการพัฒนาตัวชี้วัดความยั่งยืนที่ง่ายต่อความเข้าใจของคนในแต่ละสังคมด้วย

ฐานใจ “Workshop on Co-creation of the Livable and Happiness Project” กิจกรรมเน้นการสื่อสารกันด้วยภาษากาย อย่าง Gibberish หรือกิจกรรมพูดที่ไม่มีความหมาย เปรียบเสมือนการลงชุมชนที่มีเสียงต่างๆ มากมาย แต่เราต้องมีสมาธิกับสิ่งที่กำลังทำ การหัวเราะ ที่เป็นการฝึกถ่ายทอดพลังด้านดีออกสู่ภายนอก การมองตาและกอดกัน เป็นการสัมผัสถึงพลังงานในตัวของกันและกัน คุยกันในห้องรับแขก สะท้อนให้เห็นว่าในชีวิตของแต่ละคนไม่ได้มีบทบาทเดียว ในงานก็เป็นบทบาทหนึ่ง ในครอบครัวก็เป็นอีกบทบาทหนึ่ง

กิจกรรมที่ 2  การเรียนรู้การสื่อสารและการสร้างการมีส่วนร่วม กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  (Stakeholder Dialogue and Engagement and Management) เป็นการเรียนรู้เพื่อฝึกการเป็นนักจัดกระบวนการกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ    และหัวใจหลักคือจะเป็นการระดมความเห็นโดยไม่ตัดใครหรือความคิดของใครออกจากการระดมความเห็น เช่น ไม่ว่าจะเป็น เทคนิคการจัดกลุ่มและเรียนลำดับความสำคัญ  เทคนิคกระบวนการเรียงลำดับความสำคัญก่อนหน้าหลัง   และ กระบวนการ Process Work  ทั้งสามวิธีการเรียนรู้จะเป็นเรียนรู้ผ่านการสร้างบทบาทสมมติสถานการณ์จริงที่อาจจะเกิดขึ้น  เพื่อการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แตกต่าง แต่นำพาการพูดคุยและระดมความเห็นสู่เป้าหมายได้

กิจกรรมที่ 3  “กระบวนการค้นหาและพัฒนาโครงการนวตกรรมที่ยั่งยืน” ซึ่งเป็นการวิเคราะห์และทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ระบุคุณค่าที่บุคคลและชุมชนให้ความสำคัญ และค้นหาความเชื่อมโยงระหว่างคุณค่าเหล่านั้นกับความยั่งยืนของชุมชนด้วย 6 ขั้น แบ่งเป็น ขั้น 0 – รากฐาน ขั้น 1 – ตัวชี้วัด ขั้น 2 – วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงระบบ ขั้น 3 – นวัตกรรมสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยใช้เกมสามเหลี่ยมด้านเท่ามาช่วยเสริมความเข้าใจถึงการ ‘เชื่อมโยง’ กันและกัน ด้วยแนวคิด System Thinking ในการวิเคราะห์หลักคิดเชิงระบบและค้นหาปัญหาหรือผลกระทบไปที่ ชั้นเหตุของปัญหาและค้นพบจุดคานงัดสำคัญก่อนไปถึงขั้นการออกแบบนวัตกรรม หรือ วิสัยทัศน์ หรือ ยุทธศาสตร์ ขั้น 4 –  กลยุทธ์ขับเคลื่อนนวัตกรรมและนำแผนปฏิบัติการมาวางปฏิทินด้วยกัน ใช้สมการส่งเสริมการตลาดของ Gilman เข้ามาเป็นแนวทาง และขั้น 5 – คำมั่นในการทำงานร่วมกัน เป็นการปิดยอดการพัฒนาที่ยั่งยืนให้สมบูรณ์   ส่งท้ายด้วยกิจกรรมในหัวข้อ “การแพร่กระจายความคิดนวัตกรรม” โดยใช้การทำความรู้จักผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ว่าแต่ละผู้คนที่อยู่รายล้อมเรานั้นจะช่วยและส่งเสริมขับเคลื่อนนวัตกรรมต่างๆ ของสังคมที่เกิดจากการคิดเรื่องเมืองน่าอยู่อย่างไร มีผลต่อเนื่องกัน

ติดตามชมคลิปกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ได้ทาง http://ngobiz.org/

หากบริษัทหรือภาคประชาสังคมใดสนใจให้ทางเดอะเนทเวิร์ค ทำการจัดกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาที่ยั่งยืนและทำให้ใบอนุญาตการประกอบกิจการของคุณเป็นที่ยอมรับของประชาชนในชุมชนผ่านการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างมีความสุข ติดต่อ คุณสุนทรี ได้ที่ 02 245 5542

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *